วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Backorder - การส่งสินค้าชดเชยตามจำนวนที่ขาด


Backorder แบ็คออเดอร์ เป็นการส่งสินค้าตามจำนวนที่เคยสั่งมาแต่ส่งไปไม่ครบในคราวก่อน เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ผลิตไม่ทัน เครื่องจักรมีปัญหา สายการผลิตมีปัญหา วัตถุขาดแคลน จึงทำให้ต้องส่งสินค้าเท่าที่มีไปก่อน แล้วจึงส่งแบ็คออเดอร์ตามไป

หมายเหตุ ไม่ใช่ทุกกรณีที่ลูกค้าจะยอมรับแบ็คออเดอร์ บางครั้งการส่งสินค้าได้ไม่ครบตามจำนวนในเวลาที่ลูกค้ากำหนดอาจหมายถึงการสูญเสียลูกค้าและไม่ได้รับค่าสินค้าใด ๆ จากลูกค้าเลย



ที่มา: CSCMP Glossary
ขอบคุณภาพจาก : http://www.extendcode.com

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Backhaul และ Deadhead - การขนส่งขากลับ

Backhaul (แบ็คฮอล์) เป็นส่วนหนึ่งของเที่ยวการขนส่ง (โดยทั่วไปใช้กับการขนส่งทางถนน) เป็นขากลับของการขนส่งเพื่อกลับไปยังต้นทาง ในทางอุดมคติแล้วผู้ให้บริการขนส่งจะพยายามหาของอะไรบางอย่างเพื่อขนกลับไปด้วย (ไม่ให้เสียเที่ยว)

Deadhead (เดดเฮด) การขนส่งขากลับที่ไม่ได้ขนอะไรกลับมาด้วย ภาษาไทยมักใช้คำว่า "ตีรถกลับตัวเปล่า"


ที่มา : CSCMP Glossary
ขอบคุณภาพจาก :http://www.eurekapub.eu


Picking - การหยิบของ

Picking: The operations involved in pulling products from storage areas to complete a customer order.

Picking - พิกกิ้ง แปลว่า การหยิบของ หมายถึง การดึงผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบจากพื้นที่จัดเก็บเพื่อนำไปส่งให้ลูกค้าหรือผู้ที่ต้องการใช้งาน

Picking มีหลายวิธี เช่น

1) Discrete Order Picking เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด กล่าวคือเมื่อมีคำสั่ง (Order) มา ผู้หยิบก็เดินไปหยิบสินค้าตามลำดับรายการที่อยู่ในใบสั่งจนครบทุกชิ้น โดยหากมีคำสั่งซื้อใหม่มาก็เดินใหม่

2) Zone Picking เป็นวิธีหยิบของเมื่อโกดังหรือคลังสินค้าถูกแบ่งออกเป็นหลาย ๆ โซน โดยผู้หยิบสินค้าจะถูกกำหนดให้ไปหยิบในพื้นที่เฉพาะในโซนนั้น ๆ และส่งต่อไปยังโซนถัดไปโดยอาศัยสายพาน เรียกระบบนี้อีกชื่อหนึ่งว่า pick-and-pass หรือ หยิบแล้วส่งต่อ

3) Wave Picking วิธีนี้จะมีการส่งคำสั่งซื้อไปหลาย ๆ คำสั่ง โดยคำสั่งจะไปทุกโซน ผู้หยิบจะทำการรวมยอดของสินค้าหรือวัตถุดิบแต่ละไอเท็มแล้วหยิบรวมไปให้ โดยเมื่อส่งสินค้าไปแล้วต้องนำไปแยกแยะแบ่งตามลูกค้าอีกครั้ง อย่างไรก็ตามวิธีนี้จัดเป็นวิธีหยิบของที่เร็วที่สุดสำหรับคำสั่งซื้อที่มีหลากหลายไอเท็ม แต่ในขั้นตอนการคัดแยกไปตามลูกค้าอาจผิดพลาดได้ง่าย Wave Picking อาจแปลได้ว่า "การหยิบของแบบคลื่น" เพราะลักษณะการทำงานจะทำการหยิบของทีละกลุ่มคำสั่งซื้อจนกว่าจะเสร็จ กลุ่มคำสั่งซื้อใหม่ (เปรียบเหมือนคลื่นลูกใหม่) จะยังไม่ส่งออกไปยังโกดังจนกว่ากลุ่มคำสั่งซื้อเดิม (คลื่นลูกแรก) จะถูกดำเนินการจนแล้วเสร็จ

4) Batch Picking วิธีนี้คำสั่งซื้อจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ และผู้หยิบจะหยิบของไอเท็มเดียวกัน (สำหรับหลายคำสั่งซื้อ) ในคราวเดียว จากนั้นของทั้งหมดที่หยิบจะถูกคัดแยกเพื่อนำส่งลูกค้าอีกครั้ง ระบบหยิบของแบบนี้ใช้กันทั่วไปกับอุปกรณ์ขนถ่ายอัตโนมัติ



ที่มา : CSCMP Glossary
ขอบคุณภาพจาก : http://mccombs-wall.com